รายละเอียดการดำเนินการของประเทศไทย

1) การดำเนินการเกี่ยวกับข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส (Readiness Preparation Proposal : R-PP) งบประมาณกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ (Forest Carbon Partnership Facility : FCPF)

 

ปี 2552

  • ปี พ.ศ. 2552

    ประเทศไทยลงนามในการจัดทำบันทึกแนวคิด แผนการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส ( Readiness Plan Idea Note : R-PIN) ของกองทุน FCPF

  • 9 ก.พ. 2552

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ได้ส่ง R-PIN เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุน FCPF ในการดำเนินงาน REDD+ ในประเทศไทย

  • 27 พ.ย.2552

    ทส. ได้เห็นชอบให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ (อส.) ในฐานะหน่วยงานปฏิบัติและรับผิดชอบการรับความช่วยเหลือตามข้อตกลงร่วมโครงการ R-PIN เพื่อเสริมสร้างศักยภาพเพื่อลดการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้จากกองทุน FCPF เป็นผู้ลงนามในข้อตกลงกับธนาคารโลกผู้ดูแลกองทุน FCPF เพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุน FCPF โดยยึดถือหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2549 (ตามหนังสือ ทส.ด่วนที่สุดที่ ทส. 0204.2/5612 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2552)

ปี 2553

  • 12 เม.ย.2553

    กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีหนังสือที่ ทส 0907.3/7004 ลงวันที่ 12 เมษายน 2553 รายงานการลงนามในข้อตกลง REDD Country Participation Arrangement เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2552 และส่งข้อตกลงดังกล่าวให้กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกทราบ

  • 2 ส.ค.2553

    ธนาคารโลกมีหนังสือที่ 648/2010 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2553 แจ้งให้ ทส. ทราบว่าคณะกรรมการกองทุน FCPF พิจารณาสนับสนุนประเทศไทยจำนวน 200,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส ( Readiness Preparation Proposal : R-PP)

ปี 2554

  • 9 มี.ค.2554

    อส. ได้ส่งแบบตอบรับ ( Grant Application Form) พร้อมทั้งแจ้งให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะทราบเพื่อดำเนินการขอรับเงินในนามของประเทศไทย ตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ 0907.3/4130 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2554

  • 3 ต.ค. 2554

    อส.มอบให้สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช ร่วมหารือเจ้าหน้าที่ของธนาคารโลก เพื่อเร่งกระบวนการดำเนินงาน เนื่องจากการดำเนินงานเตรียมการของประทศไทยมีความล่าช้ากว่าประเทศอื่น ดังนั้น อส. จึงมีหนังสือด่วนที่สุด ที่ ทส 0907.3/17026 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2554 แจ้งสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เห็นควรให้ธนาคารโลก สำนักงานกรุงเทพฯ เป็นหน่วยงานเบิกจ่ายเงินในการจัดทำ R-PP

  • 21 ต.ค.2554

    เจ้าหน้าที่ธนาคารโลก สำนักงานกรุงเทพฯ ได้ประสานงานยืนยันว่าได้รับการแจ้งให้เป็นหน่วยเบิกจ่ายจำนวน 200,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ แล้วตามหนังสือสำนักบริหารหนี้สาธารณะที่ 0905/3648 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2554

  • 30 ธ.ค.2554

    อส. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาข้อกำหนดการจ้าง ( Terms of Reference : TOR) การจัดทำข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส ( R-PP) (คำสั่งที่ 1716/2554 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2554)

ปี 2555

  • 22 ก.พ.2555

    กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้มีหนังสือ ด่วนที่ 0907.6/3106 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 ส่งข้อกำหนดการจ้างดังกล่าวให้สำนักงานธนาคารโลก ประเทศไทย ดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษามาดำเนินการ และธนาคารโลกฯ ได้ว่าจ้างคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาภายในประเทศ และ Mr.Alastair Fraser เป็นที่ปรึกษาต่างประเทศในการจัดเตรียมข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมฯ ของประเทศไทย

  • 1- 11 พ.ค.2555

    กรมอุทยานแห่งชาติฯ ร่วมกับคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักงานธนาคารโลกจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นรอบที่ 1 จำนวน 4 ครั้ง เป็นการจัดในภูมิภาค 3 ครั้ง (ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่น ภาคกลาง ตะวันตกและใต้ที่กรุงเทพมหานคร และระดับประเทศ 1 ครั้งที่กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรชุมชน และชุมชน ครอบคลุมทั้งประเทศรวมจำนวน 414 คน

  • 11 ก.ย. 2555

    กรมอุทยานแห่งชาติฯ มีคำสั่งที่ 1719/2555 ลงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่างข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัสสำหรับประเทศไทย ให้มีหน้าที่ในการให้คำแนะนำ และข้อเสนอแนะแก่ที่ปรึกษาในการจัดทำร่างข้อเสนอโครงการฯ

  • 21 ก.ย.2555

    คณะที่ปรึกษาได้รวบรวมข้อคิดเห็นที่ได้จากการประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ รอบที่ 1 และจัดทำร่างข้อเสนอโครงการ R-PP ฉบับที่ 1 เสนอให้คณะกรรมการพิจารณาร่างข้อเสนอฯ พิจารณาเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2555 และรับข้อคิดเห็นมาปรับปรุงข้อเสนอโครงการ R-PP

  • 11 – 19 ต.ค.2555

    กรมอุทยานแห่งชาติฯ ร่วมกับคณะวนศาสตร์ และสำนักงานธนาคารโลกประเทศไทย จัดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นรอบที่ 2 และจัดเวทีสนทนาระดับชุมชนรวมจำนวน 6 ครั้งที่จังหวัดกาญจนบุรี อุดรธานี เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นภาคประชาชน ภาคประชาสังคม สถาบันต่างๆ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรชุมชน ครอบคลุมทุกภาคของประเทศ รวมจำนวน 613 คนและที่ปรึกษานำความเห็นจากการประชุมมาปรับปรุงรายละเอียดในร่างข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส และเสนอให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ

  • 5 พ.ย. 2555

    กรมอุทยานแห่งชาติฯ จัดการประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส ครั้งที่ 2/2555 ในวันที่ 5 พ.ย. 2555 เพื่อพิจารณาร่างข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส ครั้งที่ 2/2555 ในวันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2555 เพื่อพิจารณาร่างข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส ฉบับที่ 2 และนำเสนอให้คณะทำงานเฉพาะกิจด้านเรดด์พลัส (ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้านวิชาการ คำสั่งที่ 1/ 2554 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2554 และมีอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธาน และมีสำนักที่ดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นเลขานุการ)

  • 19 พ.ย. 2555

    คณะทำงานเฉพาะกิจด้านเรดด์พลัสได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2555 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 พิจารณาร่างข้อเสนอโครงการ R-PP และกรมอุทยานแห่งชาติฯ ร่วมกับที่ปรึกษาดำเนินการปรับปรุงตามข้อคิดเห็นของคณะทำงานดังกล่าว และจัดทำร่างฉบับสมบูรณ์เพื่อจัดส่งให้คณะกรรมการกองทุน FCPF ภายในเดือนธันวาคม 2555

  • 14 ธ.ค. 2555

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีหนังสือ No. 0907/3482 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2555 ส่งร่างข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัสสำหรับประเทศไทย ให้ธนาคารโลก เพื่อนำเสนอคณะกรรมการกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ พิจารณาสนับสนุนงบประมาณจำนวน 3.6 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

ปี 2556

  • ม.ค. – ก.พ.2556

    ทีมผู้เชี่ยวชาญของธนาคารโลก พิจารณาข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัสของประเทศไทย และได้ส่งข้อเสนอแนะ และความเห็นของทีมผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการฯ ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์ุพืช แก้ไขและนำส่งคืนข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมที่ได้แก้ไขแล้วให้ทีมผู้เชี่ยวชาญของธนาคารโลกภายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556 เพื่อให้สามารถนำ R-PP ของปรเทศไทยเข้าสู่วาระการประชุมคณะกรรมการกองทุน FCPF ครั้งที่ 14 ที่จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 18 -22 มีนาคม 2556 ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา

  • 1 มีนาคม 2556

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหนังสือ No. 0907/520 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2556 ส่งร่างข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัสสำหรับประเทศไทย ฉบับที่แก้ไขครั้งสุดท้ายให้ธนาคารโลก เพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ ครั้งที่ 14 (PC 14) ในวันที่ 20 มีนาคม 2556

  • 20 มีนาคม 2556

    1.-ที่ประชุมคณะกรมการกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ ครั้งที่ 14 ได้มีมติเห็นชอบให้การสนับสนุนงบประมาณจำนวน 3.6 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในการดำเนินโครงการฯ โดยขอให้

    1) ประเทศไทยปรับปรุง R-PP ตามประเด็นหลักที่ระบุไว้ในภาคผนวก และนำเสนอ R-PP  ที่แก้ไขแล้วให้แก่ทีมผู้บริหารกองทุน ( The Facility Management Team : FMT)

    2) ให้ FMT ตรวจสอบความสมบูรณ์ของ R-PP และนำขึ้นเว็ปไซด์ของ FCPF และแจ้งให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ทราบ

    3) ให้ธนาคารโลก ในฐานะพันธมิตรในการดำเนินงาน  (Delivery Partner) ทำการพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นและปฏิบัติร่วมกับประเทศไทยในกระบวนการลงนามในข้อตกลงหรือสัญญาการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 3.6 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ตามมติที่ประชุม PC/3/2009/4 และ PC/Electronic/2012/1

    4) ประเทศไทยจะต้องพิจารณาถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ที่ทีมผู้เชี่ยวชาญได้ประเมิน R-PP แจ้งข้อคิดเห็นไว้ รวมถึงประเด็นในที่ประชุมของคณะกรรมการบริหารกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ ( FCPF-PC) ในช่วงการเตรียมความพร้อม

    5) ประเทศไทยจะต้องรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานให้ PC ทราบตามข้อ 6.3 (b) ของกฎการจัดตั้ง FCPF และดำเนินการตามข้อตกลงในสัญญาให้ความช่วยเหลือ

    6) ให้ปรับปรุงหรือเพิ่มเติม R-PP ตามข้อเสนอแนะ ที่ระบุไว้ในภาคผนวกของมติที่ประชุมจำนวน 5 ข้อได้แก่

    6.1) ให้มีการจัดประชุมสุนทรียสนทนา ( dialogues) ในระดับภาคและประเทศ เพื่อให้แน่ใจว่าความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนได้มีการนำมาพิจารณาในการปรับปรุง R-PP รวมถึงการจัดสรรงบประมาณให้เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น และกลุ่มชาติพันธุ์ ในการช่วยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่กลุ่มประเทศที่เครือข่ายและกลุ่มต่างๆ ดังกล่าวเป็นตัวแทนอยู่

    6.2) ดำเนินการปรับปรุง R-PP ในเรื่องต่อไปนี้

            6.2.1 ) ให้มีการระบุใน R-PP ว่า การเข้ามามีส่วนร่วม และการคัดเลือกผู้แทนจากองค์กรภาคประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น และกลุ่มชาติพันธุ์ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ คณะทำงานด้านวิชาการ หรือคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องต่างๆ จะต้องผ่านกระบวนการคัดเลือกหรือเลือกสรรด้วยตนเอง

        6.2.2) ให้ระบุรายละเอียดมากขึ้นในเรื่องของวิธีการของกระบวนการการเข้ามามีส่วนร่วมโดยเฉพาะผู้หญิงและเด็กจะเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไร ในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้อง

           6.2.3) ให้มีการอธิบายใน R-PP ให้ชัดขึ้นว่า ในการศึกษาเชิงวิเคราะห์ที่จะมีการดำเนินการในช่วงของการเตรียมความพร้อมจะมีการกล่าวถึงประเด็นปัญหาในเรื่องกรรมสิทธิที่ดิน และบทบาทของหญิงชายในการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร

          6.2.4) ให้มีการอธิบายว่า คณะทำงานเฉพาะกิจด้านเรดด์พลัสระดับชาติ จะมีการประสานและร่วมมือกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องในกระบวนการของ REDD-Plus อย่างไร

    2.-ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ ครั้งที่ 14 ได้มีมติกำหนดเงื่อนไขในการดำเนินการในเรื่องการนำเสนอข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส ตามมติที่ประชุม PC/14/2013/2 ซึ่งมีข้อกำหนดว่า ประเทศที่ได้รับอนุมัติสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการตามข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส จากที่ประชุม PC 14 และก่อนนั้นจะต้องดำเนินการดังนี้ 1) ต้องส่งหนังสือเพื่อแจ้งผู้บริหารกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ ถึงกำหนดวันที่ประเทศไทย (1) จัดส่งข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัสฉบับแก้ไข (2) การลงนามในข้อตกลงการรับทุน โดยจะต้องส่งหนังสือแจ้ง ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 ซึ่งการส่งหนังสือแจ้งกำหนดวันดังกล่าวจะเป็นข้อมูลที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ ครั้งที่ 15 (เดือนมิถุนายน 2556) ใช้ใน การยืนยันการตัดสินใจที่จะให้การสนับสนุนงบประมาณให้แก่ประเทศไทยในการ2)ดำเนินการตาม R-PP ต่อไปหรือสมควรจะนำงบประมาณดังกล่าวไปใช้ในกิจกรรมอื่นๆ 2) ประเทศที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณในการดำเนินการตามข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดดฺพลัสในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 14 จะต้องจัดส่ง R-PP ฉบับแก้ไขภายในเดือนธันวาคม 2556 ประเทศที่ไม่สามารถดำเนินการตามข้อกำหนดเวลาดังกล่าว จะไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ แต่การตัดสินใจในเรื่องการไม่สนับสนุนงบประมาณนี้ ทางคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ มีการพิจารณาบนพื้นฐานของสถานการณ์และความจำเป็นประกอบด้วย 3) ขอให้ประเทศที่ได้รับอนุมัติงบประมาณจากคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 14 และก่อนนั้น ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดข้างต้น และต้องดำเนินการลงนามในข้อตกลงการรับทุนภายในเดือนพฤษภาคม 2557 ประเทศที่ไม่สามารถดำเนินการตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้จะไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ แต่การตัดสินใจในเรื่องการไม่สนับสนุนงบประมาณการนี้ ทางคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จะมีการพิจารณาบนพื้นฐานของสถานการณ์และความจำเป็นประกอบด้วย

  • 19 เมษายน 2556

    กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีหนังสือที่ ทส 0907.5/7246 ลงวันที่ 19 เมษายน 2556 รายงานผลการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 3.6 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพื่อดำเนินโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ ครั้งที่ 14 ให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทราบ และขอความเห็นชอบให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชดำเนินการประสานแหล่งทุน เพื่อใช้ในการจัดประชุมสุนทรียสนทนาและแก้ไขร่างข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมฯ เพื่อนำส่ง R-PP ฉบับแก้ไขให้คณะกรรมการบริหารกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ ภายในเดือนธันวาคม 2556 ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เห็นชอบให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ประสานแหล่งทุน

  • 29 เมษายน 2556

    กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้นำเรื่องการดำเนินการจัดทำข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัสฯ แจ้งให้คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับชาติ ทราบในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2556 วันที่ 29 เมษายน 2556

  • 29 พฤษภาคม 2556

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีหนังสือ No.0907/1306 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2556 ถึงคณะกรรมการกองทุน FCPF เพื่อยืนยันการส่งข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2556 และจะดำเนินการลงนามในสัญญาการรับทุนภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2557

  • กรกฎาคม-กันยายน 2556

    กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้จัดการประชุมสุนทรียสนทนา เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัสตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ ครั้งที่ 14 ในระดับภาค 4 ครั้งและระดับประเทศ 1 ครั้ง ดังนี้

    1) ภาคกลาง ระหว่างวันที่ 15 – 16 กรกฎาคม 2556 ณ จังหวัดกาญจนบุรี

    2) ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 17 – 18 กรกฎาคม 2556 ณ จังหวัดเชียงใหม่

    3) ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 25 – 26 กรกฎาคม 2556 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

    4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 29 – 30 กรกฎาคม 2556 ณ. จังหวัดสุราษฎร์ธานี

    5) ระดับประเทศ วันที่ 5 กันยายน 2556 ณ กรุงเทพมหานคร

    มีผู้เข้าร่วมประชุมจะเป็นบุคคลภายนอกของกลุ่มภาคประชาสังคม สถาบันต่างๆ และชุมชน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินการจาก The Swiss Agency for Development and Cooperation : SDC ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงการต่างประเทศของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยผ่านศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (RECOFTC)

  • 31 ตุลาคม 2556

    สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช ได้ปรับปรุงข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัสตามข้อคิดเห็นจากที่ประชุมสุนทรียสนทนาระดับประเทศตามความเหมาะสมและข้อเท็จจริงเสร็จแล้ว และได้นำเสนอให้ที่ประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจด้านเรดด์พลัส พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 2/2556 วันที่ 31 ตุลาคม 2556 และได้ปรับแก้ไขตามมติที่ประชุม

  • 18 พฤศจิกายน 2556

    กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้มีหนังสือที่ ด่วนที่สุด ที่ ทส 0907.5/22162 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556 แจ้งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเอกสารข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส (R-PP) ให้คณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้านวิชาการ ทราบและพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการฯ ไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม

ปี 2557

  • 7 มกราคม 2557

    กรมอุทยานแห่งชาติ ฯ ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ทส 0907.5/272 ลงวันที่ 7 มกราคม 2557  เรียนปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อโปรดพิจารณาเห็นชอบและลงนามในร่างหนังสือถึงธนาคารโลก เพื่อส่งข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัสฉบับปรับปรุงแก้ไขสุดท้ายให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ พิจารณา

  • 31 มกราคม 2557

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีหนังสือที่ No.0204.2/219 ลงวันที่ 31 มกราคม 2557 ส่งข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัสฉบับที่ได้แก้ไขปรับปรุงตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ทราบและพิจารณา

  • 28 เมษายน 2557

    ธนาคารโลก ได้มีหนังสือลงวันที่ 28 เมษายน 2557 แจ้งว่าคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ได้ทบทวนการแก้ไขและเห็นว่าได้ดำเนินการเพิ่มเติมและแก้ไขตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนแล้ว จึงเห็นชอบข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส(ฉบับปรับปรุงสุดท้ายลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2556)ซึ่งธนาคารโลกจะประสานกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชในการประเมินทางเทคนิคและความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส

  • 6 มิถุนายน 2557

    กรมอุทยานแห่งชาติ ฯ ได้มีหนังสือส่งข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัสฉบับสุดท้ายที่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ เห็นชอบให้คณะกรรมการ คณะทำงาน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อทราบ และลงไว้ในเว็ปต์ไซด์ของกรมอุทยานแห่งชาติฯ เพื่อประชาสัมพันธ์

  • 26 – 29 สิงหาคม2557

    กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้ร่วมหารือกับธนาคารโลกในเรื่องของการจัดเตรียมในเรื่องของการจัดทำรายละเอียดในการจัดทำเอกสารประกอบการทำสัญญารับทุน รวมถึงได้หารือในประเด็นของ • การประเมินความเสี่ยงและความพร้อมของการดำเนินโครงการเรดด์พลัสของประเทศไทย • การจัดลำดับความสำคัญและความจำเป็นของกิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ • โครงสร้าง บุคลากร ที่ปรึกษา รูปแบบและวิธีการในการดำเนินการ • การบริหารการเงินและการจัดหา • การจัดเตรียมข้อกำหนดการจ้างในเรื่องของการประเมินเชิงยุทธศาสตร์ทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้ในการจัดทำกรอบการดำเนินการด้านยุทธศาสตร์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

  • 2 ตุลาคม 2557

    ธนาคารโลกมีหนังสือที่ 508/2014 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2557 ประสานในเรื่องของการนำกิจกรรมที่จะดำเนินการในระยะการเตรียมความพร้อมที่ระบุไว้ใน Assessment Note เสนอให้คณะทำงานเฉพาะกิจเรดด์พลัสพิจารณา

  • 13 ตุลาคม 2557

    สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช ได้นำรายละเอียดกิจกรรมและวิธีการดำเนินการตามที่ได้หารือกับธนาคารโลกเสนอให้คณะทำงานเฉพาะกิจเรดด์พลัสพิจารณาให้ข้อคิดเห็น ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบในกิจกรรมและงบประมาณที่ได้มีการจัดสรรใหม่ให้เหมาะสมกับงบประมาณจำนวน 3.6 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ที่เน้นในเรื่องของยุทธศาสตร์เรดด์พลัสแห่งชาติ มาตรการปกป้องผลกระทบต่อสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การออกแบบระบบการตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรป่าไม้แห่งชาติ การจัดทำเส้นฐานอ้างอิง/เส้นฐานการปล่อยอ้างอิงภาคป่าไม้ ระบบการตรวจวัด การรายงาน และการทวนสอบ การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการบริหารโครงการด้านบุคลากรและการเงิน

  • 31 ตุลาคม 2557

    ธนาคารโลกมีหนังสือ No.547/2014 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2557 แจ้งให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ ทราบว่า คณะเจ้าหน้าที่ธนาคารโลกและผู้เชี่ยวชาญการจัดทำระบบการติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรป่าไม้และการจัดทำเส้นฐานอ้างอิงจะขอเข้าประชุมหารือกับเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(มหาชน) เพื่อหารือเกี่ยวกับเร่องดังกล่าว เพื่อสนับสนุนในการดำเนินการด้านกลไกเรดด์พลัสในระหว่างวันที่ 3 – 14 พฤศจิกายน 2557 ณ กรมอุทยานแห่งชาติฯ ในระหว่างเวลาดังกล่าว กรมอุทยานแห่งชาติ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกเข้าร่วมประชุมหารือและได้มีการเข้าพื้นที่เพื่อดูระบบการสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรป่าไม้ของประเทศไทยที่ดำเนินการโดยสำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ และการสำรวจประเมินคาร์บอนสต๊อกที่ดำเนินการโดยสำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช

  • 10 พฤศจิกายน 2557

    กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้มีหนังสือที่ No.0907.5/22442 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 แจ้งมติที่ประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจเรดด์พลัสให้ธนาคารโลกทราบ

  • 27 พฤศจิกายน 2557

    ธนาคารโลกมีหนังสือ No.595/2014 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2557 เรื่อง Technical Support Mission on REDD+ Monitoring System and Reference Emission Level ในระหว่างวันที่ 3 -14 พฤศจิกายน 2557 ส่งข้อสรุปและข้อคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในเรื่องระบบการตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรป่าไม้ของประเทศไทยให้กรมอุทยานแห่งชาติ ฯ ทราบเพื่อประกอบการดำเนินการต่อไปเมื่อมีการดำเนินการตามข้อเสนอโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัสของประเทศไทย

ปี 2558

  • 26 มกราคม 2558

    ได้ส่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมฝึกอบรมในเรื่อง นโยบายและแนวทางการจัดการด้านการเงิน และขั้นตอนการจัดทำรายงานในระบบตรวจสอบบัญชีของธนาคารโลก เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการตาม R-PP

ปี 2559 – ปัจจุบัน

  • 3 พฤษภาคม 2559

    ครม. มีมติเห็นชอบให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ลงนามรับทุนช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ เลขที่ TF0A0984 โดยมีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นหน่วยงานดำเนินการ

  • 17 มิถุนายน 2559

    ประเทศไทยโดยกระทรวงการคลัง ได้ลงนามในการรับทุนดังกล่าว กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) เพื่อรับการรับเงินทุนดังกล่าว และมอบหมายผู้มีอำนาจเบิกจ่ายเงินจากธนาคารโลก และจากธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) พร้อมจัดส่งให้สำนักงานบริหารหรี้สาธารณะและธนาคารโลก

  • สิงหาคม – กันยายน

    ธนาคารโลกได้จัดประชุมหารือเกี่ยวกับการดำเนินโครงการกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2559 และวันที่ 9 กันยายน 2559 และสำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช ได้รายงานผลการประชุมให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทราบ

  • ปัจจุบัน

    กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชจัดตั้งคณะกรรมการกำกับการดำเนินโครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส