กิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเรดด์พลัส

กิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเรดด์พลัส

กิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเรดด์พลัส
กิจกรรมของกรอบงานด้านเรดด์พลัส ประกอบด้วย ๕ กรอบงานหลัก ได้แก่

1. การลดการทำลายป่า ตัวอย่างเช่น

  • การดูแลรักษาพื้นที่ป่า
  • การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้
  • การป้องกันการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไปเป็นพื้นที่การเกษตร ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชพลังงาน ที่อยู่อาศัย และการควบคุมการขยายเมืองที่เหมาะสม
  • การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ยุติธรรม และจริงจัง
  • การพัฒนาระบบการเกษตรที่ยั่งยืน
  • ลดการใช้พลังงานจากไม้ในป่า

2. การลดความเสื่อมโทรมของป่า ตัวอย่างเช่น

  • การป้องกันและลดการตัดไม้ออกจากป่าที่เกินกำลังผลิตของป่า
  • การป้องกันและลดผลกระทบจากการเกิดไฟป่า
  • การส่งเสริมการปลูกพืชเชื้อเพลิงถ่าน เพื่อชดเชยการใช้ต้นไม้จากป่า
  • การป้องกันการนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปเลี้ยงในพื้นที่ป่า
  • การลดการเข้าไปพึ่งพิงหรือเก็บหา นำออกมาไปซึ่งทรัพยากรจากพื้นที่ป่า

 

3. การอนุรักษ์ป่าไม้ ตัวอย่างเช่น

  • การเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เช่น อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นต้น
  • การควบคุมและดูแลรักษาพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างเข้มงวด
  • การฟื้นฟูสภาพป่าอนุรักษ์ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น
  • การสร้างเครือข่ายและผู้สื่อข่าวสารเรดด์พลัส

 

4. การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ตัวอย่างเช่น

  • การปรับปรุงการทำไม้ ให้ได้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องและไม่เกิดความเสื่อมโทรมของป่า
  • การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบป่าไม้ที่มีอยู่ให้มีความเข้มงวด
  • การนำผลผลิตจากป่ามาใช้โดยไม่เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศของป่า หรือลดกำลังของป่าลง
  • ปลูกต้นไม้ป่าทดแทนเมื่อมีการตัดไปใช้ประโยชน์
  • การส่งเสริมให้ชุมชนปลูกไม้ป่าในพื้นที่ของตนเองเพื่อใช้สอย และเพื่อลูกหลานได้ใช้สอยในอนาคตโดยไม่นำผลผลิตและผลที่เกิดขึ้นจากป่าธรรมชาติ                                                                      มาใช้สอยเพื่อคงไว้ซึ่งความสมบูรณ์ของธรรมชาติ

5. การเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน ตัวอย่างเช่น

  • ปลูกต้นไม้ทดแทนเมื่อมีการตัดไปใช้ประโยชน์
  • ส่งเสริมหรือจัดการให้ป่าธรรมชาติมีการเติบโตเพิ่มขึ้น
  • ปลูกเสริมป่าในพื้นที่ต่างๆ เพื่อการกักเก็บคาร์บอนเพิ่มขึ้น
  • การขยายรอบตัดฟัน เพื่อรักษาปริมาณคาร์บอนให้อยู่ในพื้นที่ในระยะเวลาหนึ่ง
  • สนับสนุนให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์จากไม้ในการพัฒนา และการก่อสร้าง ฯลฯ
  • เพิ่มผลผลิตมวลชีวภาพต่อพื้นที่ให้มากขึ้น โดยใช้หลักการจัดการป่าไม้ตามหลักวิชาหาร เช่น การเลือกใช้สายพันธุ์ที่มีคุณภาพ
  • ปลูกฟื้นฟูป่าในที่เคยเป็นป่าแต่ถูกทำลาย
  • การบูรณะป่าธรรมชาติและการฟื้นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม