ตัวชี้วัด
เชิงปริมาณ :
- จำนวนชุมชน/หมู่บ้านที่ร่วมในการอนุรักษ์ จัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน และฟื้นฟูทรัพยากร ป่าไม้ เพื่อลดการปล่อยและเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่า อย่างน้อย 20 ชุมชน
- จำนวนเครือข่ายที่ร่วมดำเนินการอนุรักษ์ จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และการเพิ่มพื้นที่ป่าและหรือเพิ่มจำนวนต้นไม้เพื่อลดการปล่อยและเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ อย่างน้อย 300 คน
- มีศูนย์หรือหน่วยขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ระดับพื้นที่ อย่างน้อย 5 ศูนย์
- เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความสำคัญของป่าไม้ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งด้านการป้องกันและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จำนวนอย่างน้อย ร้อยละ 50
เชิงคุณภาพ :
- ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทของป่าไม้ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร้อยละ 70
- ชุมชนนำความรู้ความเข้าใจไปใช้ในการปฏิบัติและดำเนินการในเรื่องการอนุรักษ์ป่าไม้ การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และเพิ่มพื้นที่ป่าหรือปลูกไม้ป่า รวมถึงการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ที่เกิดความยั่งยืนขึ้น ร้อยละ 10 ของจำนวนชุมชนในข้อ 1
- อัตราการทำลายป่าในระดับพื้นที่ที่ดำเนินการลดลงและ/หรือไม่มี และพื้นที่ป่ามีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น
- การประเมินการกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ของประเทศมีการยกระดับจาก Tier 1 ไปสู่ Tier 2 และ 3