ความเป็นมาและความก้าวหน้าของกลไกเรดด์พลัส

ความเป็นมาและความก้าวหน้าของกลไกเรดด์พลัส

ตาราง พัฒนาการของเรดด์และเรดด์พลัสในเวทีการเจรจาระหว่างประเทศ

 

การประชุมสมัยที่ 11 (มอนทรีออล) ปี พ.ศ. 2548(2005)

การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 11 ณ เมืองมอนทรีออล แคนาดา

  • ประเทศคอสตาริกา และปาปัวนิวกินี ได้เสนอให้นำแนวคิดเรื่องการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าในประเทศกำลังพัฒนา มาเป็นประเด็น เพื่อพิจารณาในการประชุมภายใต้อนุสัญญาฯ
  • ท่ีประชุมยอมรับหลักการในกรอบงานเรดด์พลัส (Reducing Emissions from Deforestation : RED) หรือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกการทำลายป่า (D ตัวที่ 1 Deforestation )

การประชุมสมัยที่ 13 (เกาะบาหลี) ปี พ.ศ. 2550(2007)

การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 13 ณ เกาะบาหลี สาธารณรัฐอิโดนีเซีย

  • เสนอแนวคิดในการเพิ่มการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำให้ ป่าเสื่อมโทรม (D ตัวที่ 2 มาจาก Forest Degradation จึงเป็น REDD: Reducing Emissions from Deforestation and Forest Degradation in Developing countries) หรือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จาก การทำลายป่าและการทำให้ป่าเสื่อมโทรมในประเทศกำลังพัฒนา
  • ให้เพิ่มศักยภาพแก่ประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดย พิจารณาจากการดำเนินการตามแนวทางเชิงนโยบายและการสร้าง แรงจูงใจเชิงบวกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลาย ป่าและการทำให้ป่าเสื่อมโทรม รวมถึงบทบาทในการอนุรักษ์ป่า การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่า ในประเทศกำลังพัฒนา (REDD+) โดยให้มีการหารือในเรื่องนี้ต่อไป
  • รับหลักการและกำหนดให้ REDD เป็นกลไกเพิ่มเติมและอิสระไม่เกี่ยว กับกลไกการพัฒนาที่สะอาดภายใต้พิธีสารเกียวโต โดยมีหลักการ 4 ประการคือ

ประการที่ 1 การทำลายป่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วไปในประเทศกำลังพัฒนา
ประการที่ 2 การดูแลรักษาป่าหรือการเพิ่มพื้นที่ป่าก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมของโลกโดยรวม
ประการที่ 3 ผู้ดูแลรักษาป่าหรือเพิ่มพื้นที่ป่าควรได้รับผลตอบแทน
ประการที่ 4 เป็นกลไกที่สร้างแรงจูงใจเชิงบวก

การประชุมสมัยที่ 14 (พอสแนน) ปี พ.ศ. 2551(2008)

การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 14 ณ เมืองพอสแนน สาธารณรัฐโปแลนด์

  • ที่ประชุมยอมรับหลักการกรอบงานเรดด์พลัส (Th inteoduction of REDD Plos) ดังนั้น REDD เปลี่ยน REDD+
  • นอร์เวย์ สหราชอาณาจักรญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ร่วมกันตั้งกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้(Th Forest Carbon Pratnership Facility : FCPF) โดยให้ธนาคารโลกดูแล
  • ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิคของกองทุน FCPF

การประชุมสมัยที่ 15 (กรุงโคเปนเฮเกน) ปี พ.ศ. 2552(2009)

การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 15 ณ กรุงโคเปนเฮเกน ราชอาณาจักรเดนมาร์ก

  • ให้มีการพัฒนากรอบการดำเนินงานและการเงินเรดด์พลัส
  • ตกลงให้ใช้คู่มือของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ในการจัดทำ ระบบตรวจติดตามทรัพยากรป่าไม้ในระดับประเทศและระดับภาค โดยใช้เทคนิค ระยะไกล และการสำรวจในภาคสนามในการดำเนินการ
  • ใช้ข้อมูลในอดีตในการจัดทำระดับการปล่อยอ้างอิง/ระดับอ้างอิงภาคป่าไม้
  • ประเด็นมาตรการการดำเนินการของกรอบงานเรดด์พลัสยังหาข้อสรุปไม่ได้ จะต้อง มีการเจรจาในการประชุมประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญาฯ สมัยที่ 16 ต่อไป ในปี พ.ศ.2553 (2010) ณ สาธารณรัฐเม็กซิโก
  • ประเทศไทยจัดทำแนวคิดการดำเนินการตามกรอบงานเรดด์พลัส (Readiness Plan Idea Note : R – PIN) เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ (Forest Carbon Partnership Facility : FCPF

การประชุมสมัยที่ 16 (เมืองแคนคูน) ปี พ.ศ. 2553(2010)

การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 16 ณ เมืองแคนคูน สาธารณรัฐเม็กซิโก

  • ขอให้ประเทศกำลังพัฒนาช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคป่าไม้ โดยให้ดำเนินกิจกรรมตามกรอบงานเรดด์พลัสจำนวน 5 กรอบงาน คือ

  1. การลดการทำลายป่า
  2. การลดการทำให้ป่าเสื่อมโทรม
  3. การเพิ่มบทบาทในการอนุรักษ์ป่า
  4. การเพิ่มการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน
  5. การเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่า
  • ในการดำเนินการดังกล่าว ให้มีการพัฒนาในเรื่องต่อไปนี้

  1. การจัดทำยุทธศาสตร์เรดด์พลัสหรือแผนปฎิบัติการของประเทศ
  2. การจัดทำระดับการปล่อยอ้างอิง/ระดับอ้างอิงภาคป่าไม
  3. การจัดทำระบบการตรวจติดตามทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ
  4. ระบบการให้ข้อมูลการปกป้องผลกระทบต่อสังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (Safeguards Information System : SIS)
  5. การพิจารณาในเรื่องปัจจัยในการทำลายป่าและการทำให้ป่าเสื่อมโทรม
  • ในการจัดทำยุทธศาสตร์หรือแผนปฏิบัติงานเรดด์พลัส จะต้องให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบเข้าร่วม โดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่น

  • การดำเนินการตามกรอบงานเรดด์พลัส ควนดำเนินการใน 3 ระยะ คือ

  1. ระยะเตรียมความพร้อม
  2. ระยะการปฏิบัติตามแผนหรือทดสอบนำร่องระดับประเทศ
  3. ระยะการดำเนินการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์
  • กำหนดหลักการระบบปกป้องผลกระทบต่อสังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม( Safeguards) จำนวน 7 ข้อ คือ

  1. กิจกรรมที่ดำเนินการจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ด้านป่าไม้ระดับประเทศ อนุสัญญา และข้อตกลงระหว่างประเทศ
  2. ความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลด้านป่าไม้ระดับประเทศที่มีประสิทธิภาพคำนึงถึงกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ และอธิปไตยของประเทศ
  3. เคารพภูมิปัญญาและสิทธิของชุมชนพื้นเมืองท้องถิ่นและสมาชิกของชุมชนท้องถิ่นโดยคำนึงถึงข้อตกลงระหว่างประเทศ สถานภาพ และกฎหมายของประเทศ ทั้งนี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ยอมรับ ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชุมชนพื้นเมืองท้องถิ่น
  4. การมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะ ชุมชนพื้นเมืองท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นในการดำเนินงานตามกรอบงานเรดด์พลัส
  5. กิจกรรมที่ดำเนินการจะต้องสอดคล้องกับการอนุรักษ์ป่าธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ และต้องมั่นใจว่าการดำเนินการ   ตามกรอบงานเรดด์พลัส จะไม่เป็นการทำให้เกิดความเสียหายต่อป่าธรรมชาติ แต่จะเป็นการสร้างแรงจูงใจในการป้องกันและอนุรักษ์ป่าธรรมชาติ และการบริการของระบบนิเวศ ตลอดจนส่งเสริมผลประโยชน์ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
  6. กิจกรรมที่ดำเนินการจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจาก การดำเนินการโดยอาจจะเป็นไปในทิศทางที่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่วางแผน และคาดหวังไว้
  7. กิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อลดการทำลายป่าในพื้นที่หนึ่งจะต้องไม่ก่อให้เกิดการทำลายป่าในอีกพื้นที่หนึ่ง
  • มีการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรเรดด์พลัส (REDD+ partnership) ในการประชุม “the Oslo Climate and forest Conference” ที่กรุงออสโล ราชอาณาจักรนอร์เวย์ ในปี พ.ศ. 2553 มีประเทศเข้าร่วม 50 ประเทศ รวมประเทศไทยด้วย งบประมาณในระยะแรกสนับสนุนโดยราชอาณาจักรนอร์เวย์ จำนวน 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ในการดำเนินการในปี พ.ศ. 2553 – 2555 ปีจจุบันกลุ่มพันธมิตรเรดด์พลัสได้ยกเลิกไปแล้ว เนื่องจากมีเวทีในการแลกเปลี่ยน ในเรื่องนี้เกิดขึ้นภายใต้มติที่ประชุมของประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญาฯ

การประชุมสมัยที่ 17 (เมืองเดอร์บาน) ปี พ.ศ. 2554(2011)

การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 17 ณ เมืองเดอร์บาน สาธารณรัฐอัฟริกาใต้

  • ที่ประชุมมีมัติเห็นชอบ

  1. แนวทางการจัดระบบในการให้ข้อมูลของการป้องกันผลกระทบต่อสังคมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Safeguards) ที่กำหนดไว้ในภาคผนวก 1 ของข้อตกลงแคนคูน ที่จะต้องถูกคำนึงถึง และให้ความสำคัญตามสภาพการณ ศักยภาพ อธิปไตย และ ข้อกฎหมายของประเทศ รวมถึงข้อบังคับ ข้อตกลงระหว่าง ประเทศ และเรื่องของเพศ
  2. ให้ประเทศกำลังพัฒนาจัดทำรายละเอียดและการหาข้อมูลของการปกป้องผลกระทบต่อสังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (Safeguards)
  3. ประเทศกำลังพัฒนาที่ดำเนินการตามกรอบงานเรดด์พลัสจะต้องให้ความสำคัญ และรายงานข้อมูลในเรื่อง Safeguards เป็นระยะๆ โดยให้รายงานไว้ในรายงาน แห่งชาติของประเทศหรือในช่องทางอื่นที่ได้รับการยอมรับจากที่ประชุมรัฐภาคีฯ
  4. กำหนดรูปแบบและวิธีการจัดทำระดับการปล่อยอ้างอิง/ระดับอ้างอิงภาคป่าไม
  5. ประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินสำหรับดำเนินกิจกรรมเรดด์พลัส ในระยะที่ 3 (Results-based Actions) จะต้องมีกระบวนการตรวจวัด รายงาน และการทวนสอบ (Measurement Reporting and Verification : MRV)
  6. ให้มีการสนับสนุนทางการเงินสำหรับกิจกรรมเรดด์พลัสในระยะที่ 3 (Results-based Actions) สำหรับประเทศกำลังพัฒนาโดยให้มีการสนับสนุน ที่เกิดขึ้นใหม่และให้สนับสนุนเพิมเติมซึ่งอาจจะมาจากหลายแหล่งทั้งจากรัฐ เอกชน ข้อตกลง ทวิภาคี และพหุภาคี รวมทั้งแหล่งอื่นๆ
  7. กำหนดให้แนวทางที่ไม่ใช่ตลาด (Non-market based approaches) เช่น แนวทางการดำเนินการร่วมระหว่างการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัว (Joint mitigation and adaptation approaches) สำหรับการจัดการป่าไม้ อย่างยั่งยืน เป็นกลไกทางการเงินที่ไม่ใช่กลไกตลาดอีกทางเลือกหนึ่ง เพื่อสนับสนุน และเพิ่มความเข้มแข็งแก่รัฐบาล ซึ่งทำให้เกิดความสมดุลของสิ่งแวดล้อม โดยควรจะมีการพัฒนาในอนาคต

การประชุมสมัยที่ 18 (กรุงโดฮาร์) ปี พ.ศ. 2555(2012)

การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 18 ณ กรุงโดฮาร์

      มีการจัดทำโปรแกรมการทำงานเกี่ยวกับกลไกการ

  • จ่ายค่าตอบแทนเมื่อเกิดผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินการตามกรอบงาน เรดด์พลัส
  • การเพิ่มแหล่งเงินทุนสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจในการดำเนินการตามกรอบงานเรดด์พลัสในด้านผลประโยชน์ที่ไม่ใช่คาร์บอน และการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมตามกรอบงานเรดด์พลัส
  • ให้มีการหารือรูปแบบการประสานและสนับสนุนการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกภาคป่าไม้ หรือการดำเนินการตามกรอบงานเรดด์พลัส ทั้งด้าน การเงิน เทคนิควิชาการ และเทคโนโลยี และให้มีการจัดตั้งกรรมการบริหาร มาดำเนินการ โดยอาจจะเป็นองค์กรที่มีอยู่แล้ว หรือจัดตั้งคณะกรรมการบริหารใหม่
  • ให้มีการหารือแนวทางการดำเนินการในเรื่องของกลไกที่ไม่ใช่ตลาด เช่น Joint mitigation and adaptation สำหรับการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ที่ไม่ใช่คาร์บอน

การประชุมสมัยที่ 19 (วอร์ซอร์) ปี พ.ศ. 2556(2013)

การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 19 ณ กรุงวอร์ซอร์ สาธารณรัฐโปแลนด์

เห็นชอบในข้อตัดสินใจเชิงเทคนิคและการบริหารจัดการของกรอบงานด้านเรดด์พลัส จำนวน 7 ข้อ ( กรอบการดำเนินการวอร์ซอร์ด้านเรดด์พลัส : the Warsaw Framework for REDD+) คือ

  • แนวทางการระบุถึงสาเหตุของการทำลายป่าและการทำให้ป่าเสื่อมโทรม
  • กระบวนการสำหรับการติดตามการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรป่าไม้
  • ระยะเวลาและความถี่ในการนำเสนอข้อสรุปเกี่ยวกับข้อมูลของการปกป้องผลกระทบ ทางสังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ที่ได้มีการระบุไว้ในภาคผนวกของ ข้อตัดสินใจของการประชุมประเทศภาคีสมาชิกที่เมืองแคนคูน สาธารณรัฐเม็กซิโก
  • รูปแบบและกระบวนการในการจัดทำแนวทางในการตรวจสอบ การรายงาน และ การทวนสอบของกรอบงานเรดด์พลัส
  • แนวทาง ระยะเวลา รวมถึงกระบวนการในการประเมินทางเทคนิค เมื่อมีการเสนอ ระดับการปล่อยอ้างอิง/ระดับอ้างอิงภาคป่าไม้ จากประเทศสมาชิก
  • การกำหนดนโยบายและแนวทางการประสานในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคป่าไม้ในประเทศกำลังพัฒนารวมถึงการ จัดการองค์กรหรือสถาบันในการดำเนินการ
  • แนวทางการบริหารการเงินเพื่อสนับสนุนให้เกิดผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงานตามกรอบงานด้านเรดด์พลัสอย่างเต็มรูปแบบ
    ที่ประชุมได้เสนอให้มีการเรียกชื่อข้อตัดสินใจชุดนี้เป็น Package ว่า กรอบการ ดำเนินงานวอร์ซอร์ด้านเรดด์พลัส“The Warsaw Framework for REDD+”
  • * หมายเหตุ รายละเอียดให้ศึกษาจากคู่มือเล่มที่ 4

การประชุมสมัยที่ 20 (กรุงลิมา) ปี พ.ศ. 2557(2014)

การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 20 ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู

  • หารือต่อในเรื่องของกลไกที่ไม่ใช่ตลาด ( Non-market based approachs) และ กระบวนการและวิธีการจ่ายเงินสำหรับผลสัมฤทธิ์จากกิจกรรมเรดด์พลัส แต่ยังไม่มี ข้อตกลงที่ชัดเจนในการประชุมครั้งนี้

การประชุมสมัยที่ 21 (กรุงปารีส) ปี พ.ศ. 2558(2015)