วิธีดำเนินการ
- ประสานส่วนวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้ ให้ส่งผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวมาฝึกอบรมความรู้และเทคนิคในการวางแปลง การสำรวจ การเก็บบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลให้แก่เจ้าหน้าที่กลุ่มงานวิชาการ เจ้าหน้าที่โครงการนำร่อง และชุมชนที่มีความสนใจในการเข้าร่วมงานวิจัยจากพื้นที่นำร่อง และวางแผนการดำเนินงาน
- กำหนดการสำรวจเพื่อประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าแต่ละประเภทที่กระจายไปในแต่ละภูมิภาค และอยู่ในสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ดำเนินกิจกรรมนำร่อง
- จัดหาภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายจาก Google Earth เพื่อมาคัดเลือกพื้นที่ที่จะสุ่มตัวอย่างและกำหนดตำแหน่งแปลงตัวอย่างให้กระจายเป็นตัวแทนในป่าผืนนั้น
- วางแปลงตัวอย่างการศึกษาการกักเก็บคาร์บอนและระบบนิเวศ
- จัดเก็บข้อมูลสังคมพืช สภาพอากาศในพื้นที่ มวลชีวภาพบนดิน คาร์บอนในดิน และการกักเก็บคาร์บอนในระบบนิเวศป่าไม้ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
- ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศป่าไม้ในแปลงถาวร
- ศึกษาการตอบสนองของระบบนิเวศป่าไม้ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- สำรวจและศึกษาประสิทธิภาพของการปลดปล่อยและการกักเก็บคาร์บอนในระบบนิเวศป่าไม้ต่างๆ
- พัฒนาความรู้ด้านการไหลเวียนคาร์บอนและสมดุลคาร์บอนของระบบนิเวศในชนิดป่าต่างๆ