วัตถุประสงค์
- เพื่อเตรียมความพร้อม เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักให้แก่ชุมชน และภาคส่วนต่างๆ ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคป่าไม้จากการทำลายป่าและการทำให้ป่าเสื่อมโทรม รวมถึงเพิ่มบทบาทในการอนุรักษ์ป่า การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และการเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าในรูปแบบต่างๆ
- เพื่อสร้างเครือข่ายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้และเรดด์พลัสในระดับพื้นที่ระดับชุมชน และท้องถิ่นในการดำเนินการและการถ่ายทอดความรู้ด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคป่าไม้จากการทำลายป่าและการทำให้ป่าเสื่อมโทรม รวมถึงเพิ่มบทบาทในการอนุรักษ์ป่า การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และการเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าในรูปแบบต่างๆ
- เพื่อศึกษา และพัฒนารูปแบบ มาตรการหรือแนวทาง เพื่อการพัฒนาวิชาการ และ การดำเนินงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกภาคป่าไม้ รวมถึงการดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานหรือขอบข่ายงานด้านเรดด์พลัสของประเทศไทยในอนาคต โดยเริ่มจากระดับล่างสู่บน
- เพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบในพื้นที่และติดแนวเขตพื้นที่คุ้มครองเพื่อร่วมกันในการหยุดการตัดไม้ทำลายป่า และการทำให้ป่าเสื่อมโทรม รวมถึงเพิ่มบทบาทในการอนุรักษ์ป่า การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และการเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการปลูกต้นไม้ป่าเพิ่ม
- เพื่อจัดตั้งศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ในระดับพื้นที่ เพื่อเป็นหน่วยงานปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคสนามที่ประสานการปฏิบัติงานกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชนอย่างบูรณาการ และเพื่อการประสานการดำเนินงาน การสาธิต การจัดการป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการดำรงชีวิตที่ดีของชุมชน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนต้นแบบในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคป่าไม้และเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในภาคป่าไม้
- เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการสำรวจและประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าของประเทศที่ได้มาตรฐานและยกระดับค่าความเชื่อมั่นในการประเมินการกักเก็บคาร์บอนของประเทศ รวมถึงการพัฒนาสมการและสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคป่าไม้
- เพื่อศึกษาและพัฒนาดัชนีบ่งชี้ รวมถึงแนวทางการประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อระบบนิเวศป่าไม้และการเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์และประเภทป่าในอนาคต เพื่อรองรับการป้องกันและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินของชุมชนในพื้นที่ป่า รูปแบบของแรงจูงใจและการตอบแทน และผลตอบแทนทั้งทางตรงและทางอ้อมของการบริการของระบบนิเวศที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนของทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ และสนับสนุนการดำเนินการตามพันธกรณีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ
พื้นที่ดำเนินการ
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และพื้นที่ป่าติดแนวเขตป่าอนุรักษ์
กลุ่มเป้าหมาย
- เจ้าหน้าที่หน่วยงานกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- เจ้าหน้าที่หน่วยงานภายนอก
- ภาคประชาสังคม
- ภาคประชาชนและชุมชนที่พึ่งพิงป่า
- ภาคเอกชน
กิจกรรม
ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม คือ
- กิจกรรมเตรียมความพร้อมเสริมความแข็งแกร่งและพัฒนาเทคนิคการดำเนินกิจกรรมกลไกเรดด์พลัส
- กิจกรรมนำร่องเพื่อพัฒนาชุมชนในพื้นที่คุ้มครองในการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนและเพิ่มพื้นที่ป่าในการกักเก็บคาร์บอนด้วยกลไกเรดด์พลัส
- กิจกรรมสำรวจ ศึกษา และประเมินการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ และการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่า