ความก้าวหน้าของการดำเนินการ

1.การเพิ่มศักยภาพและความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้และกรอบการดำเนินการด้านเรดด์พลัส ดังนี้

การอบรมระดับเจ้าหน้าที่หน่วยงานภายใต้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ระดับชุมชน สตรี เยาวชน มอบให้กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ดำเนินการ ในส่วนขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น/ตำบล ส่วนสิ่งแวดล้อมป่าไม้ดำเนินการ

กลุ่มเป้าหมาย

จำนวนคนในปีงบประมาณ

หมายเหตุ

2557 2558 2559 2560
ชุมชน 1,240 1,235 570 570
เยาวชน 200 150

สตรี

100 90
เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ 140 100 440
เจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นและสถาบันการศึกษา 150
เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯและชุมชน 200
องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น/ตำบล 180 80
1,910 1,415 870 1,250

 

 2. การอบรมและประชุมด้านอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้

หลักสูตร/เรื่อง

กลุ่มเป้าหมาย

จำนวนคนในปีงบประมาณ (คน)

หน่วยดำเนินการ

2557 2558 2559 2560
ความรู้ด้านกฎหมายป่าไม้ สิ่งแวดล้อมและข้อตกลงระหว่างประเทศ

ภาคประชาชน

อบต. อบท.

140 ส่วนสิ่งแวดล้อมป่าไม้
การประเมินทรัพยากรป่าไม้และคาร์บอนสต๊อกในพื้นที่ป่าเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามกลไกเรดด์พลัส เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯและชุมชนในพื้นที่สำรวจ 41 ส่วนวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้
การสำรวจข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ 40 สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์
ชุมชน 40
การพัฒนานักวิจัยพื้นบ้าน ชุมชน 60
วิทยากรชาวบ้านด้านเรดด์พลัส ชุมชน 40
การจัดทำระดับการปล่อยอ้างอิง/ระดับอ้างอิงภาคป่าไม้ เจ้าหน้าที่อส. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน สถาบันการศึกษา 45 ส่วนสิ่งแวดล้อมป่าไม้
การกำหนดรูปแบบและมาตรการและความต้องการระดับชุมชนเพื่อดำเนินกิจกรรมเรดด์พลัส ชุมชน 200
การจ่ายค่าตอบแทนการบริการของระบบนิเวศและเรดด์พลัส เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติและชุมชน 30 ส่วนสิ่งแวดล้อมป่าไม้
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินโครงการฯ กลุ่มวิชาการและเจ้าหน้าที่โครงการ 40 ส่วนสิ่งแวดล้อมป่าไม้
การติดตามผลการดำเนินงานประจำปี ของโครงการฯ เจ้าหน้าที่โครงการฯ 100 80 80 80

ส่วนสิ่งแวดล้อมป่าไม้

366 220 80 150

 

3การสำรวจข้อมูลพื้นฐานชุมชนและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบุกรุกทำลายป่าของชุมชนที่พึ่งพิงป่าอนุรักษ์ของกรมอุทยานแห่งชาติ ของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 – 16 , สาขาสระบุรี สาขาเพชรบุรี และสาขาลำปาง จำนวน 126 หมู่ ข้อมูลของหมู่บ้านจะใช้ในการพิจารณาในการพัฒนาต้นแบบนำร่องและการวางแผนการดำเนินงาน ซึ่งจะมีการวิเคราะห์แนวโน้มในเรื่องการใช้ประโยชน์จากป่าและระบบนิเวศของป่าอนุรักษ์ที่ชุมชนตั้งอยู่ เพื่อวางแผนการจัดการต่อไป

4.สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์และการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้

4.4 วีดีทัศน์ประชาสัมพันธ์จำนวน 6 เรื่อง

4.1 คู่มือเพื่อการเรียนรู้จำนวน 6 ฉบับ 8 เรื่อง

4.2 แผ่นพับเพื่อการประชาสัมพันธ์ จำนวน 2 เรื่อง

4.3 โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ จำนวน 3 เรื่อง

4.5 ชุดนิทรรศการเคลื่อนที่จำนวน 5 เรื่อง

4.6 บันทึกการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้จำนวน 1 เรื่อง

4.6 เอกสาร/สื่อเผยแพร่ในรูปแบบอื่นๆ ที่มีการดำเนินการของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ทุกแห่งและส่วนสิ่งแวดล้อมป่าไม้ เช่น แฟ้ม สมุดนักเรียน แผ่นปลิว แผ่นนิทรรศการ เป็นต้น

 5. การจัดนิทรรศการและเผยแพร่ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้และกรอบการดำเนินงานด้านเรดด์พลัสในงานและเทศกาลต่างๆ ของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ทั้ง 19 แห่ง ที่ร่วมโครงการฯและส่วนสิ่งแวดล้อมป่าไม้ เฉลี่ยแห่งละ 3 ครั้งต่อปี รวม 57 ครั้ง

6.การศึกษาและกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบการปกป้องผลกระทบต่อสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( Safeguards) จำนวน 1 เรื่องโดยส่วนสิ่งแวดล้อมป่าไม้

7.จัดตั้งคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อการพัฒนาระดับการปล่อยอ้างอิง/ระดับอ้างอิงภาคป่าไม้และระบบการตรวจติดตาม การรายงาน และการทวนสอบ ของกรอบการดำเนินงานด้านเรดด์พลัส เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการและเตรียมการในการกำกับการพัฒนาในเรื่องดังกล่าวของประเทศ ซึงมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อ กำหนดแนวทางในการพัฒนาระดับการปล่อยอ้างอิง/ระดับอ้างอิงภาคป่าไม้ในวันที่ 11 – 12 พฤษภาคม 2559 และได้ร่างข้อกำหนดของการพัฒนาระดับการปล่อย/ระดับอ้างอิงในเบื้องต้นได้แก่ คำจำกัดความของคำว่าป่า กิจกรรมที่เลือกใช้ มวลชีวภาพที่เลือก ระดับประเทศ และอื่นๆ

8.การเข้าร่วมประชุมชี้แจงในเรื่องของการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้และกรอบการดำเนินงานด้านเรดด์พลัสของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชต่อหน่วยงานอื่นและภาคประชาสังคมและภาคส่วนอื่น จำนวน 4 ครั้ง เช่น การประชุมภาคประชาสังคมที่ RECOFTC  ได้จัดขึ้น

9.การเข้าร่วมประชุมเพื่อจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกภาคป่าไม้ การจัดทำแผนแม่บท แผนการดำเนินงานและมาตราการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้กับหน่วยงานประสานหลักของประเทศได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และอื่นๆ ปีงบประมาณละ 80 ครั้ง