ประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับ

  1. มีเครื่องมือที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาประเทศในการประเมินว่า การบริหารจัดการป่าไม้ของประเทศไทยบรรลุเป้าหมายของการรักษาพื้นที่ป่า และใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบผลการดำเนินงานด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของประเทศอีกด้วย

  2. มีระบบการติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรป่าไม้ของประเทศที่ได้มาตรฐาน มีรูปแบบและกระบวนการในการดำเนินการที่ชัดเจน และสามารถวิเคราะห์รายงานผลได้อย่างเป็นระบบ ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

  3. เป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบและความสนใจของประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พิธีสารเกียวโต และความตกลงปารีส ในการมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่า การทำให้ป่าเสื่อมโทรม และเพิ่มบทบาทในการอนุรักษ์ปา การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และเพิ่มการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ป่า

  4. หากมีการดำเนินการได้ตามกรอบยุทธศาสตร์ และมาตรการต่างๆที่ได้มีการจัดทำขึ้น โอกาสในการที่พื้นที่ป่าจะเป็นแหล่งสะสมคาร์บอนและก่อให้เกิดคาร์บอนเครดิตให้แก่ประเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ รวมถึงเป็นข้อต่อรองในการเจรจาในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ข้อตกลงหรือในอนุสัญญาอื่นๆ

  5. การรับทุนเพื่อดำเนินโครงการฯ ทำให้สามารถพัฒนาศักยภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาหรือการเจรจาต่อรองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนซึ่งเป็นประเทศที่มีป่าเขตร้อน ทำให้เกิดช่องทางในการแก้ไขปัญหาผลกระทบข้ามพรมแดนได้