แนวทางการดำเนินกิจกรรมเรดด์พลัส

แนวทางการดำเนินงานตามกรอบงานเรดด์พลัส

ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานตามกรอบงานเรดด์พลัส

1) การเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานตามกรอบงานเรดด์พลัส (Readiness phse)

• แผนการสื่อสารและประชาสัมพันธ์
• แผนการพัฒนาเสริมศักยภาพหรือแผนการอบรมให้ความรู้แก่ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคประชาชนในชุมชนท้องถิ่น
• ศูนย์ข้อมูลและประสานงาน
• การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมและการดำเนินการ
• กระบวนการปรึกษาหารือและกระบวนการมีส่วนร่วม

2) ยุทธศาสตร์หรือแผนการปฏิบัติงานด้านเรดด์พลัสของประเทศ ให้ครอบคลุมในเรื่อง

• การวิเคราะห์สาเหตุของการทำลายป่าและการทำให้ป่าเสื่อมโทรม
• การบริหารจัดการป่าไม้และธรรมาภิบาลป่าไม้
• การประเมินการใช้ประโยชน์ที่ดิน และปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
• การทบทวนนโยบาย กฎหมาย และองค์กร/สถาบันการบริหารจัดการ
• นิยามคำว่า ป่า
• การแบ่งปันข้อมูลและรับฟังความคิดเห็น การร้องทุกข์
• ยุทธศาสตร์ระดับท้องถิ่น/แผนการปฏิบัติการจัดการชุมชน
• การกำหนดทางเลือกยุทธศาสตร์ และกรอบการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ

3) ระบบการตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรป่าไม้ในระดับประเทศที่มีมาตรฐาน ( National forest monitoring systems)

• แผนที่ป่าไม้แห่งชาติ
• ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรป่าไม้ของประเทศที่เป็นระบบเดียว
• ระบบการติดตามตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรป่าไม้

4) ระบบการตรวจวัดระดับอ้างอิง ระบบการการตรวจวัดการรายงานและการทวนสอบ ( Reference level: RL) และ/หรือระดับการปล่อยอ้างอิง ( Reference Emission  level : REL) ภาคป่าไม้

• วิเคราะห์อัตราการทำลายป่าที่ผ่านมาในแต่ละช่วงเวลาในอดีต
• ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
• พิจารณาสถานการณ์ของประเทศในปัจจุบัน
• สาเหตุของการทำลายป่า
• บริบทของนโยบายประเทศ

5) ระบบการตรวจวัด การรายงาน และการทวนสอบระดับประเทศ ( Measurement  Reporting and Verification : MRV

• ดำเนินการตามหลักการของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 5 ประการคือ โปร่งใส ความถูกต้อง ความต่อเนื่อง ความสมบูรณ์ และการเปรียบเทียบกันได้
• ต้องมีการประเมินการเปลี่ยแปลงของการกักเก็บคาร์บอนเปรียบเทียบกับเส้นฐานอ้างอิง(ตันของคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี)
• การพิสูจน์ยืนยันหรือการทวนสอบ ต้องเป็นหน่วยงานหรือองค์กรกลางในการดำเนินการ
• ข้อมูลในการพัฒนา : การปลอดปล่อยและดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากป่าไม้การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าจากการดำเนินการในแต่ละกิจกรรมหรือทั้งหมด และคำนิยามที่เกี่ยวข้อง

6) ข้อมูลและระบบการปกป้องผลกระทบต่อสังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม( Safeguards)

• ข้อมูลข่าวสารการปกป้องผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Safeguards  information System : SIS)
• ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ Sateguards
• แนวปฏิบัติตามข้อตกลงแคนคูนในการประชุมประเทศสมัชชาภาคีอนุสัญญาสมัยที่16
• ใช้ประบวนการหารือในการกำหนดระบบติดตามเพื่อปกป้องผลกระทบและกำหนดดัชนีชี้วัดการเกิดผลกระทบ

7) การประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าแต่ละประเภท

• ศึกษาและสร้างสมการในการคำนวนคาร์บอนในพื้นที่ป่าของประเทศ
• จำทำโมเดลการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าแต่ละประเภท

8) ผลประโยชน์ที่ไม่ใช่คาร์บอน (Non-carbon benefit or Co-benefit)

• ความชัดเจนของผลผระโยชน์ที่ไม่ใช่คาร์บอนและผลประโยชน์ร่วม
• การประเมินและกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินผลประโยชน์ที่ไม่ใช่คาร์บอนหรือผลประโยชน์ร่วม
• จะเลือกปะโยชน์ที่ไม่ใช่คาร์บอนใดมาตรวจวัด หากต้องการผลตอบแทน

9) กลไกการเงินและความยั่งยืนทางการเงิน : ระบบกองทุน (บริจาค ตั้งกองทุน เก็บภาษี การบริการ)ระบบกลไก (การซื้อขายคาร์บอน) หรือระบบผสม

10) การแบ่งปันผลประโยชน์ : หลักเกณฑ์ในการแบ่งปัน เช่น ใครควรได้รับประโยชน์บ้าง ทำไมภายใต้เงื่อนไขอะไร ในส่วนเท่าไร และระยะเวลานานแค่ไหน

11) การจัดการสถาบัน/องค์กร/โครงสร้างเพื่อดำเนินกิจกรรมเรดด์พลัสของประะเทศ ปัจจุบันมีคณะทำงานเฉพาะกิจเรดด์พลัส (REDD+ task force) ที่แต่งตั้งโดยคณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านวิชาการ คณะทำงานฯ มีอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธาน มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

• จัดทำแนวทางสำหรับกิจกรรมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส
• จัดทำแผนปฏิบัติงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์กลไกเรดด์พลัส
• แต่งตั้งคณะทำงานด้านวิชาการ
• ทบทวนแผน/โครงการ/ข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับกลไกเรดด์พลัส
• ให้การสนับสุนนด้านวิชาการแก่คณะอนุกรรมการฯด้านวิชาการ
• ประสานงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับกลไกเรดด์พลัส

ระยะที่ 2 ดำเนินการตามแผนและทดลองนำร่อง

1) ปฏิบัติตามมาตรการ ยุทธศาสตร์ และแผนงานที่ได้กำหนดไว้

2) การพัฒนาและสริมสร้างศักยภาพเพ่มเติม

3) การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี

4) การพัฒนากลไกการเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินการ

5) การนำร่อง เพื่อเน้นผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรม

ระยะที่ 3 การดำเนินการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในระดับประเทศ

          เป็นการต่อยอดการดำเนินการจากระยะที่2 ในระดับประเทศหรือระดับภาค ใช้เส้นฐานอ้างอิงหรือเส้นฐานการปล่อยอ้างอิงเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาศักยภาพของการดำเนินงานด้านเรดด์พลัสโดยจะมีระบบในการตรวจวัด การรายงาน และการทวนสอบหรือพิสูจน์ยืนยันเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการก่อนได้รับผลตอบแทนทางการเงินผ่านกองทุนหรือกลไกตลาด ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศและผลการเจนจาในอาคต