ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)

เบอร์โทรติดต่อ

หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี)

นายทรงกลด ภู่ทอง นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ สบอ.2 (จันทบุรี)

เบอร์โทรติดต่อ : 065-5525545

ประวัติความเป็นมา

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2560 เจ้าหน้าที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ส่วนสิ่งแวดล้อมป่าไม้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว และชุมชนนำร่องกิจกรรมเรดด์พลัส ร่วมตรวจสอบแปลงที่ดินทำกินของราษฎรถือครองตามมติคณะรัฐมนตรี 30 มิถุนายน 2541 โดยผู้ถือครองมีความประสงค์ขอคืนพื้นที่ จำนวน 3 ไร่ 2 งาน เพื่อให้จัดตั้งศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) โดยสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) เป็นผู้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2560 อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อนุญาตให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) ใช้พื้นที่และอนุมัติการจัดตั้ง ศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ ระดับพื้นที่ (จังหวัดจันทบุรี) และดำเนินกิจกรรมโครงการ ตามหนังสือ ที่ ทส 0909.202/14690 วันที่ 11 กรกฎาคม 2560

ที่ตั้ง

ที่ตั้งท้องที่หมู่ที่ 2 ตำบลปะตง อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ภายใต้ขอบเขตพื้นที่ตามกฎหมาย พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562

• ทิศเหนือ            ติดต่อกับ    หมู่ที่ 7 ตำบลปะตง  อำเภอสอยดาว  จังหวัดจันทบุรี
• ทิศใต้                ติดต่อกับ    หมู่ที่ 6 ตำบลปะตง  อำเภอสอยดาว  จังหวัดจันทบุรี
• ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ     หมู่ที่ 2 ตำบลปะตง  อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี
• ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ   เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น

กิจกรรมการปลูกป่าของชุมชนในพื้นที่เกษตรกรรมของโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคป่าไม้ เป็นพื้นที่ผ่อนปรนตาม มติ ครม.30 มิ.ย.2541 ของ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี และเป็นการเพิ่มต้นไม้ป่าในพื้นที่ผ่อนปรน โดยมีการขับเคลื่อนด้วยการกระตุ้นให้มีความต้องการและผลักดันโดยเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ราษฎรต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ และเครือข่ายต้นแบบ ดำเนินการในพื้นที่ตัวเองตามที่ได้รับการผ่อนปรน เป็นการดำเนินการตามกรอบงานเรดด์พลัสและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ เป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างป่า โดยตกลงกับชุมชนต้นแบบว่าหากปลูกต้นไม้ป่า 200 ต้น ถือว่าปลูกป่าได้ 1 ไร่ ไม่ว่าต้นไม้ที่ปลูกจะอยู่ส่วนไหนของพื้นที่ทำกินก็ตาม