วันที่ 12-14 กุมภาพันธ์ 2563 สำนักงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ กองการต่างประเทศ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ รุ่นที่ 1 ณ ศูนย์ฝึกอบรมที่ 5 (ตาก) จังหวัดตาก

วันที่ 12 – 14 กุมภาพันธ์ 2563 สำนักงานเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ กองการต่างประเทศ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ สรุปบทเรียน และการทำแผนการรับมือต่อกลไกเรดด์พลัสและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้” รุ่นที่ 1 ภายใต้โครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส (Readiness Proposal Preparation: R-PP) ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ (Forest Carbon Partnership Fund: FCPF) โดยอยู่ในความดูแลของธนาคารโลก ณ ศูนย์ฝึกอบรมที่ 5 (ตาก) จังหวัดตาก

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเพิ่มความรู้และความเข้าใจ ในกลไกเรดด์พลัสและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ รวมทั้งนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้กับทุกภาคส่วน

2. เพื่อการแลกเปลี่ยนและสรุปบทเรียนในการดำเนินงานของศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้เรดด์พลัสในช่วงเวลาที่ผ่านมา

3. เพื่อการกำหนดแนวทางและแผนงานในการดำเนินการเพื่อรับมือกับกลไกเรดด์พลัสและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล

กลุ่มเป้าหมาย

จำนวน 80 คน ประกอบด้วย

1.ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคป่าไม้โดยการสร้างแรงจูงใจและกระบวนการมีส่วนร่วมกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

2.ผู้แทนชุมชน ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

3.ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ องค์กรท้องถิ่น และสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาการบรรยาย

  1. โครงการเตรียมความพร้อมต่อกลไกเรดด์พลัส (Readiness Preparation Proposal: R-PP)
  2. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศป่าไม้ และ REDD+

การอภิปราย

  1. การดำเนินงานและความก้าวหน้า REDD+ ในประเทศไทย
  2. นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนกลไก REDD+
  3. ชุมชนต้นแบบและรูปธรรมที่เป็นจริง (Best Practices) ของการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนและการดำเนินงานกลไกเรดด์พลัส

ภาคปฏิบัติ (นำเสนอรายงาน แบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็น และศึกษาดูงาน)

  1. การดำเนินงานชุมชนต้นแบบและศูนย์ฯ REDD+ : ความสำเร็จและความท้าทายและบทเรียนจากผู้ปฏิบัติการ
  2. นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การป่าไม้แห่งชาติกับการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนและกลไก REDD+
  3. REDD+ กับมาตรการปกป้องทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
  4. REDD+ กลไกทางการเงิน/แรงจูงใจ และการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม
  5. การสำรวจและประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้
  6. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) และบทบาทการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกลไก REDD+
  7. กิจกรรมและแผนการดำเนินงาน REDD+ ในระยะต่อไป