กลุ่มบ้านตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

[siteorigin_widget class=”SiteOrigin_Widget_Slider_Widget”][/siteorigin_widget]

เข้าร่วมโครงการ : ปี พ.ศ. 2558

หน่วยงานรับผิดชอบ :  กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 สงขลา

ส่วนสิ่งแวดล้อมป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช

ข้อมูลพื้นฐาน

หมู่บ้านต้นแบบตามกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่คุ้มครองในการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนและเพิ่มพื้นที่ป่าในการกักเก็บคาร์บอนด้วยกลไกเรดด์พลัส จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 4 บ้านโพธิ์ หมู่ที่ 6 บ้านโหล๊ะจันกระ หมู่ที่ 9 บ้านป่าพงศ์ หมู่ที่ 11 บ้านนาส้อง ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง มีลำห้วยน้ำโสมไหลผ่านหมู่บ้าน คำว่า “เพิ่ม” มาจากชื่อพืชชนิดหนึ่งของพืชตระกูลมัน ใช้เป็นอาหารต้มกินแทนข้าวได้

แผนที่หมู่บ้านนำร่องชุมชนอนุรักษ์ป่าตะโหมด

ที่ตั้งและอาณาเขตตำบลตะโหมด

ตำบลตะโหมดตั้งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองพัทลุงไปทางทิศใต้ เป็นระยะทางประมาณ 54 กิโลเมตร และตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอตะโหมดประมาณ 8 กิโลเมตร ตามถนน สายแม่ขรี – ตะโหมด มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้

ทิศเหนือ ติดกับ ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
ทิศใต้ ติดกับ ต.คลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.แม่ขรี ต.คลองใหญ่
ทิศตะวันตก ติดกับ เทือกเขาบรรทัด

ข้อมูลประชากร

ตำบลตะโหมดมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,685 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 9,420 คน แบ่งเป็นเพศชาย 4,871 คน เพศหญิง 4,845 คน

การศึกษา

ตำบลตะโหมดมีจำนวนสถานศึกษาระดับประถมศึกษา 3 แห่ง คือ โรงเรียนวัดตะโหมด โรงเรียนบ้านหัวช้าง โรงเรียนบ้านวัดควนนอมอ และมีสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา 1 แห่ง คือ โรงเรียนประชาบำรุง นอกจากนี้ยังมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอีก 3 แห่ง และโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 1 แห่ง คือ โรงเรียนวัดโหล๊ะจังกระ ชาวบ้านในตำบลตะโหมดให้ความสำคัญต่อการศึกษา เห็นได้จากการมีบริจาคที่ดินสร้างโรงเรียนประชาบำรุงซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมในชุมชน มีสถานที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน อีกทั้งวัดตะโหมดได้มีการจัดให้เยาวชนศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยมีการเรียนการสอนและจัดสอบเป็นประจำทุกปี


ศาสนา

ประชาชนในตำบลตะโหมดนับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม ครัวเรือนที่นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 60 และครัวเรือนที่นับถือศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ 40

อาชีพและรายได้

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีการทำสวนยางพาราและสวนผลไม้เกือบทุกครัวเรือนและมีการทำนาเพื่อบริโภคในครัวเรือน จำนวนประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 10 ประกอบอาชีพรับจ้างและอาชีพอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 10 รายได้เฉลี่ยของประชากรต่อปี 67,500 บาท

[siteorigin_widget class=”SiteOrigin_Widget_Headline_Widget”][/siteorigin_widget]

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *